|
|
เนื่องด้วย ในปี 2550 นี้ กรมโยธาธิการได้ประกาศให้อาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ทั่วประเทศต้องทำการตรวจสอบสภาพอาคาร เพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้อาคารดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543มาตรา 17 ซึ่งให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 32 ทวิ แห่งระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 12 ทวิ เกี่ยวกับการ กำหนดให้เจ้าของอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารและระบบอุปกรณ์ประกอบของอาคาร เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบลิฟต์ ระบบป้องกันอัคคีภัย และระบบระบายน้ำ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้มีผลบังคับใช้แล้ว และเจ้าของอาคารจะต้องทำการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550 โดยตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปีและ ตรวจสอบประจำปีทุกปี เจ้าของอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารทำการตรวจสภาพอาคารดังนั้นอาคารที่เข้าข่ายตาม พระราชบัญญัติที่มีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน 9 ประเภท ได้แก่
1. อาคารสูง หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอด ผนังของชั้นสูงสุด
2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
3. อาคารชุมนุมคน หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
4. โรงมหรสพ
5. โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
6. สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
7. อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
8. อาคารโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งชั้นและมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
9. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย ซึ่งความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตาราง เมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป(ตามกฎกระทรวงปี 2558 กำหนดให้ตรวจป้ายเป็นประจำทุก 3 ปี)
ดังนั้น อาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบมีทั้งสิ้น 9 ประเภท โดยมีบทเฉพาะกาล ให้เจ้าของอาคารที่มีการก่อสร้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จหรือได้รับใบรับรองตามมาตรา 32 มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีั ให้มีการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของ อาคาร ประเภทการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรกให้แล้วเสร็จและเสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ กฎกระทรวงนี้ประกาศในราจกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2548 ดังนั้น ภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2550 เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต้องส่ง รายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
Ú ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสำหรับในเขตกทม.
Ú นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
Ú ประธานกรรมการบริหาร ( นายก ) องค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
Ú นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
Ú ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด สำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
ประมาณราคาตรวจสอบ
1.ตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี คิดราคา 2-4 บาทต่อตารางเมตรแต่รวมเเล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อครั้งในการตรวจ
2.ตรวจสอบย่อยทุกปี คิดราคา 8,000-18,000 บาทต่อปี
3.ตรวจสอบป้ายคิดค่าตรวจ 5,000-10,000 บาทต่อครั้งในการตรวจ
ทีมงานประกอบด้วย
K.ปรเมธ เกื้อกิจ โทร. 081-2405500 E-mail : [email protected] id Line : dennice1800
ประวัติการศึกษาและฝึกอบรม
K.วุฒิชัย เอมเเจ้ง
ประวัติการศึกษาและฝึกอบรม
K.วิเชียร วงษ์ทอง
ประวัติการศึกษาและฝึกอบรม
K.พัชรี ลิขิตหัตถศิลป
ประวัติการศึกษาและฝึกอบรม
K.ปณิธาน เกื้อกิจ
ประวัติการศึกษาและฝึกอบรม
ต้องการใบเสนอราคาให้ดำเนินการดังนี้
1. ระบุชื่อบริษัท และที่อยู่
2. ระบุว่าโดยปรกติใช้อาคารเพื่อทำอะไร
3. แจ้งขนาดอาคารคร่าวๆ
4. ต้องการให้เสนอราคาเพื่อตรวจสอบใหญ่ หรือ ตรวจสอบย่อย
5. ระบุชื่อ, ตำแหน่ง, เบอร์โทรศัพท์, E-mail ที่ผมสามารถติดต่อได้
6. ส่งข้อมูลมาที่ E-mail: [email protected] หรือ ID Line : dennice1800
** พิเศษ สำหรับอาคารใน กทม. ทางเรารับยื่นรายงานส่ง กทม.ให้**